วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

แบบประเมินตนเองสำหรับครูเรื่องการวัดผลระดับชั้นเรียน

ภาพยนตร์ตัวอย่าง

วรรคทอง..การศึกษาไทย

  • เมื่อใดที่ระบบการศึกษา ขาดซึ่งรากฐานของการแสวงหาคุณค่า ความหมาย และจินตนาการ ก็คงไม่ต่างอะไรไปจากระบบที่ตายแล้ว..และรอวันล่มสลาย ในที่สุด
วิจักข์ พานิช

ชีวิตและเรื่องราวที่พานพบ

วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

วัตถุประสงค์ของบล็อก snjirawan (บล็อกของ ศน.จิรวรรณ)

วัตถุประสงค์ของบล็อกนี้
บล็อก นี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ หรือ ช่องทาง การสื่อสารระหว่างคนที่สนใจเรื่อง การศึกษา ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การวิจัย 2) สถิติ 3) การวัดและประเมินผลทางการศึกษา 4) การจัดการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษา 5) การวิเคราะห์วาทกรรม
เป้าหมาย อยู่ตรงที่มีผู้เข้ามา
อ่าน: เรื่องราวที่ประชาสัมพันธ์
เขียน: แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และ ส่งช่าวคราวเพื่อสื่อสารระหว่างกันในแต่ละสถานการณ์

หลักสูตร 51 : ครูจะวัดประเมินผลผู้เรียนอย่างไร


หลักสูตร 51:ครูวัดประเมินผลย่างไร
เมื่อมีใครสักคนเปิดประเด็นสนทนาเรื่อง “การวัดผลประเมินผลผู้เรียน” ผู้ร่วมวงซึ่งเป็นครูอย่างพวกเรา เกินกว่าครึ่งมักนึกถึง “การสอบ” “ข้อสอบ” “ตัวเลข” “แบบประเมิน” “แบบปพ” ฯลฯ พร้อมกับคิดไปว่า ฉันเป็นครูที่เข้าใจเรื่องการวัดประเมินผลเป็นอย่างดี แค่หลับตาก็เห็นบรรยากาศของการสอบ การวัด การประเมิน การตัดสินผลการเรียน (ที่ครูใช้ผลเพื่อประกอบการตีตราคุณค่าในตัวเด็ก) ซึ่งจัดว่าเป็นค่านิยม ของการวัดผลประเมินผลแบเดิม ๆ ที่ต้องรีบปรับรื้อเสียใหม่
เมื่อมาถึงยุคของการที่ทุกโรงเรียนใช้หลักสูตร51 เพื่อจัดการศึกษา เขาหรือนักวิชาการที่จัดทำหลักสูตรมุ่งเน้น และ ย้ำแล้วย้ำอีก ให้ครูเราปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือมุมมองเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลผู้เรียน จากการเห็นภาพบรรยากาศของการตัดสิน ให้เป็นภาพของหมอที่วินิจฉัยโรคของเด็ก ๆ ว่า มีส่วนไหนในตัวเด็ก ที่ทำให้เขาเรียนไปแล้วรู้ไม่ครบ (ตามมาตรฐานของหลักสูตร) และสิ่งที่นักวิชาการไม่ได้กล่าวถึงแต่เป็นนัยยะที่อยู่เบื้องหลัง คือ มีส่วนไหนในการสอนของครูที่ทำให้เด็กไม่รู้ หรือรู้ไม่ครบ
กระบวนทัศน์ใหม่ที่เขาบอกให้ครูเราปรับเปลี่ยนนั้น ต้องมาจากการที่ครูสามารถตอบคำถามสำคัญมาก ๆ ของการวัดประเมินผลให้ครบถ้วน ชัดเจน ในตัวเองก็คือ พวกเราทราบ หรือไม่ว่า
การวัดผลคืออะไร?
การประเมินผลคืออะไร?
เหมือนหรือต่าง?
อะไรที่เหมือน?
อะไรที่ต่าง?
เมื่อไหร่วัด?
เมื่อไหร่ประเมิน?
ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือแบบไหนจึงจะวัดได้สะดวก และได้ผลจริง ๆ ?
ต้องประเมินแบบไหนที่สามารถนำผลมาใช้ประโยชน์ได้?
การตรวจการบ้านอย่างไร จึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและครู?
และอื่น ๆ อีกไม่มากเท่าไหร่ แต่คุ้มค่าที่จะหาคำตอบ
ถ้าครูรู้คำตอบ และเข้าใจหลักคิด หลักการ หลักทำ ของการวัดผล ประเมินผล อย่างจริง ๆ จัง ๆ ขอการันตีได้เลยว่า เราสามารถ ออกแบบ การวัดและประเมินผล รวมทั้งนำไปใช้ได้อย่างสบาย ๆ สนุก คุ้มค่า และมีประโยชน์ต่อทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะของครูได้อย่างแน่นอน
อย่าลืมว่า คำถามสำคัญที่ต้องหาคำตอบข้างต้น เป็นความรู้ที่เขาจัดว่าเป็น ศาสตร์ ของการวัดผลประเมินผล หากนำมาใช้ต้องอาศัย ศิลปะ ของการบริหาร และ จัดการในชั้นเรียนให้มีความลงตัว ลื่นไหล สอดแทรกไปในวิถีของการบริหารจัดการหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ ที่หลักสูตร 51 เน้นเรื่องการประเมินตามตัวชี้วัดที่กำหนดในแต่ละหน่วยการเรียนรู้
ทั้งนี้ ศาสตร์และศิลป์ ของการวัดและประเมินผลผู้เรียน ตามกรอบแนวคิดของหลักสูตร 51 เป็นเรื่องที่ต้องคิด และทำอย่างมีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป ภายใต้วิธีคิดที่มุ่งเน้นการวัดและประเมินเพื่อเสริมจุดเด่น ซ่อมจุดด้อย ทั้งของเด็กและของครู เป็นสำคัญ
…………………………..